วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

รูปร่างและรูปทรง (Shape & Form)

ที่มาของภาพ http://img268.imageshack.us/img268/1952/geometric.jpg
รูปร่าง (Shape) คือ รูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาว
    ไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขต
    ของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม  รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระ
     ที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล
     รูปทรง (Form) คือ รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดง
    ความกว้าง   ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วย
    เช่น รูปทรงกลม  ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น
   ให้ความรู้สึกมีปริมาตร  ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้
   ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน
 รูปเรขาคณิต (Geometric Form) มีรูปที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือ
   คำนวณได้ง่าย มีกฎเกณฑ์ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม
   รูปวงกลม รูปวงรี นอกจากนี้ยังรวมถึงรูปทรงของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้น
  ขึ้นอย่างมีแบบแผน  แน่นอน  เช่น รถยนต์   เครื่องจักรกล   เครื่องบิน 
  สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ    ที่ผลิตโดยระบบอุตสาหกรรม ก็จัดเป็นรูปเรขาคณิต
   เช่นกัน รูปเรขาคณิตเป็นรูป  ที่ให้โครงสร้างพื้นฐานของรูปต่าง ๆ ดังนั้น
   การสร้างสรรค์รูปอื่น ๆ   ควรศึกษารูปเรขาคณิตให้เข้าใจถ่องแท้เสียก่อน
รูปอินทรีย์ (Organic Form) เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิต
   ที่สามารถ  เจริญเติบโต  เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงรูปได้  เช่น
   รูปของคน  สัตว์  พืช
รูปอิสระ (Free Form) เป็นรูปที่ไม่ใช่แบบเรขาคณิต หรือแบบอินทรีย์ 
   แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพล
   และการกระทำจากสิ่งแวดล้อม  เช่น รูปก้อนเมฆ  ก้อนหิน  หยดน้ำ ควัน
   ซึ่งให้ความรู้สึกที่เคลื่อนไหว มีพลัง รูปอิสระจะมีลักษณะ ขัดแย้งกับ
   รูปเรขาคณิต แต่กลมกลืน กับรูปอินทรีย์  รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิต
   หรือรูปอินทรีย์ ที่ถูกกระทำ   จนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจน
   ไม่เหลือสภาพ เช่น รถยนต์ที่ถูกชนจนยับเยินทั้งคัน  เครื่องบินตก
   ตอไม้ที่ถูกเผาทำลาย หรือซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง
ความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรง
    เมื่อนำรูปทรงหลาย ๆ รูปมาวางใกล้กัน  รูปเหล่านั้นจะมีความสัมพันธ์ดึงดูด  หรือผลักไส
  ซึ่งกันและกัน  การประกอบกันของรูปทรง อาจทำได้โดย ใช้รูปทรงที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน
  รูปทรงที่ต่อเนื่องกัน รูปทรงที่ซ้อนกัน รูปทรงที่ผนึกเข้าด้วยกัน รูปทรงที่แทรกเข้าหากัน
  รูปทรงที่สานเข้าด้วยกัน หรือ รูปทรงที่บิดพันกัน      การนำรูปเรขาคณิต รูปอินทรีย์ และรูป
  อิสระมาประกอบเข้าด้วยกัน จะได้รูปลักษณะใหม่ ๆ อย่างไม่สิ้นสุด

การใช้สีในเชิงสัญลักษณ์


ที่มาของภาพ http://web.ofebia.com/
 การใช้สีในเชิงสัญลักษณ์
สีแดง
มีความอบอุ่น ร้อนแรง เปรียบดังดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังแสดงถึง
ความมีชีวิตชีวา ความรัก  ความปรารถนา เช่นดอกกุหลาบแดงวัน
วาเลนไทน์  ในทางจราจรสีแดงเป็นเครื่องหมายประเภทห้าม แสดง
ถึงสิ่งที่อันตราย  เป็นสีที่ต้องระวัง  เป็นสีของเลือด ในสมัยโรมัน
สีของราชวงศ์เป็นสีแดง แสดงความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์และอำนาจ

สีเขียว 
แสดงถึงธรรมชาติสีเขียว ร่มเย็น มักใช้สื่อความหมายเกี่ยวกับการ
อนุรักษ์ธรรมชาติ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การเกษตร   การเพาะปลูก
การเกิดใหม่ ฤดูใบไม้ผลิ การงอกงาม ในเครื่องหมายจราจร หมาย
ถึงความปลอดภัย  ในขณะเดียวกัน อาจหมายถึงอันตราย ยาพิษ
 เนื่องจากยาพิษ  และสัตว์มีพิษ ก็มักจะมีสีเขียวเช่นกัน

สีเหลือง
แสดงถึงความสดใส  ความเบิกบาน โดยเรามักจะใช้ดอกไม้สีเหลือง
ในการไปเยี่ยมผู้ป่วย และแสดงความรุ่งเรืองความมั่งคั่ง และฐานันดร
ศักดิ์ ในทางตะวันออกเป็นสีของกษัตริย์  จักรพรรดิ์ของจีนใช้ฉลอง
พระองค์สีเหลือง  ในทางศาสนาแสดงความเจิดจ้า ปัญญา พุทธศาสนา
และยังหมายถึงการเจ็บป่วย  โรคระบาด ความริษยา ทรยศ  หลอกลวง

สีน้ำเงิน
แสดงถึงความเป็นสุภาพบุรุษ  มีความสุขุม หนักแน่น   และยังหมายถึง
ความสูงศักดิ์ ในธงชาติไทย สีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ในศาสนา
คริตส์เป็นสีประจำตัวแม่พระ โดยทั่วไป สีน้ำเงินหมายถึงโลก  ซึ่งเราจะ
เรียกว่า โลกสีน้ำเงิน (Blue Planet)   เนื่องจากเป็นดาวเคราะห์ที่มองเห็น
จากอวกาศโดยเห็นเป็นสีน้ำเงินสดใส เนื่องจากมีพื้นน้ำที่กว้างใหญ่

สีม่วง
แสดงถึงพลัง  ความมีอำนาจ ในสมัยอียิปต์สีม่วงแดงเป็นสีของกษัติรย์
ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยโรมัน  นอกจากนี้  สีม่วงแดงยังเป็นสีชุดของพระ
สังฆราช  สีม่วงเป็นสีที่มีพลังหรือการมีพลังแอบแฝงอยู่ และเป็นสีแห่ง
ความผูกพัน องค์การลูกเสือโลกก็ใช้สีม่วง ส่วนสีม่วงอ่อนมักหมายถึง
ความเศร้า ความผิดหวังจากความรัก

สีฟ้า
แสดงถึงความสว่าง ความปลอดโปร่ง เปรียบเหมือนท้องฟ้า เป็นอิสระ
เสรี เป็นสีขององค์การสหประชาชาติ เป็นสีของความสะอาด ปลอดภัย
สีขององค์การอาหารและยา (อย.) แสดงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การ
ใช้พลังงานอย่างสะอาด แสดงถึงอิสรภาพ ที่สามารถโบยบินเป็นสีแห่ง
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ไม่มีขอบเขต

สีทอง
มักใช้แสดงถึง   คุณค่า  ราคา  สิ่งของหายาก  ความสำคัญ  ความสูงส่ง
สูงศักดิ์   ความศรัทธาสูงสุด  ในศาสนาพุทธ หรือ    เป็นสีกายของพระ
พุทธรูป  ในงานจิตรกรรมเป็นสีกายของพระพุทธเจ้า พระมหากษัติรย์
หรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องทรง  เจดีย์ต่าง ๆ มักเป็นสีทอง  หรือ
ขาว และเป็นเครื่องประกอบยศศักดิ์ ของกษัตริย์และขุนนาง

สีขาว
แสดงถึงความสะอาด  บริสุทธิ์ เหมือเด็กแรกเกิด  แสดงถึงความว่างเปล่า
ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นสีอาภรณ์ของผู้ทรงศีล ความเชื่อถือ ความดีงาม
ความศรัทธา และหมายถึงการเกิดโดยที่แสงสีขาว เป็นที่กำเนิดของแสงสี
ต่าง ๆ เป็นความรักและความหวัง ความห่วงใยเอื้ออาทรและเสียสละของ
พ่อแม่ ความอ่อนโยน  จริงใจ บางกรณีอาจหมายถึง ความอ่อนแอ ยอมแพ้

สีดำ
แสดงถึงความมืด ความลึกลับ สิ้นหวัง ความตายเป็นที่สิ้นสุดของทุกสิ่ง
โดยที่สีทุกสี เมื่ออยู่ในความมืด  จะเห็นเป็นสีดำ  นอกจากนี้ยังหมายถึง
ความชั่วร้าย ในคริสต์ศาสนาหมายถึง ซาตาน อาถรรพ์เวทมนต์ มนต์ดำ
ไสยศาสตร์ ความชิงชัง ความโหดร้าย  ทำลายล้าง  ความลุ่มหลงเมามัว
แต่ยังหมายถึงความอดทน กล้าหาญ เข้มแข็ง และเสียสละได้ด้วย

สีชมพู
แสดงถึงความอบอุ่น อ่อนโยน ความอ่อนหวาน นุ่มนวล  ความน่ารัก
แสดงถึงความรักของมนุษย์โดยเฉพาะรุ่นหนุ่มสาว  เป็นสีของความ
เอื้ออาทร  ปลอบประโลม  เอาใจใส่ดูแล  ความปรารถนาดี  และอาจ
หมายถึงความเป็นมิตร  เป็นสีของวัยรุ่น   โดยเฉพาะผู้หญิง และนิยม
ใช้กับสิ่งของเครื่องใช้ของเด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่
http://www.prc.ac.th/newart/webart/colour04.html 

การจัดองค์ประกอบศิลป์


ที่มาของภาพ http://www.designdotexe.com/
 เรื่องการจัดองค์ประกอบศิลป์ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เป็นเรื่องของการนำองค์ประกอบต่างๆมาจัดวางรวมกันอย่างมีหลักมีเกณฑ์ แต่ก็อาจยืดหยุ่นได้บ้าง เพื่อให้ผลงานออกมาเกิดความสวยงาม ความลงตัว การจัดจะเน้นในเรื่องสำคัญดังนี้
เอกภาพ(Unit) คือ การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่กระจัดกระจายไปคนละทิศทาง และเป็นส่วนที่แสดงเนื้อหาเรื่องราวอย่างชัดเจนด้วย การสร้างเอกภาพทำโดยวิธีสัมผัส ทับซ้อนและจัดกลุ่ม เพื่อให้รู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สมดุล(Balance) คือ การจัดลักษณะของภาพให้เกิดความพอดี ให้เกิดน้ำหนักสองข้างเท่ากัน แบ่งเป็น สองกลุ่ม คือ
1.แบบสองข้างเท่ากัน (Symmetrical) โดยวางภาพสอง ข้างเท่ากัน ส่วนใหญ่ปรากฏในงานจิตรกรรมไทย หรือตราสัญลักษณ์ต่างๆ
2.แบบสองข้างไม่เท่ากัน(Asymmetrical) โดยการนำองค์ประกอบศิลป์มาจัดวาง โดยสองข้างไม่จำเป็นต้องเหมือนกันได้ ดูแล้วรู้สึกว่าสมดุลกัน ใช้มากในงานจิตรกรรม เพราะความรู้สึกเคลื่อนที่ไม่ สงบเงียบเกินไป
จุดเด่นและการเน้น (Dominace & Emphasis) คือส่วนสำคัญของภาพที่ต้องการแสดง ไม่จำเป็นต้องอยู่ตรงกลางเพราะให้ความรู้สึกนิ่งเกินไป ควรวางไว้ในระยะหน้าหรือกลางและใช้การเน้นช่วย
ความกลมกลืนและความขัดแย้ง (Harmony & Contrast) ภาพที่งดงามจะต้องมีความกลมกลืนและนำเสนอเรื่องราวได้ดีดูแล้วไม่ขัดตา อาจใช้หลักต่างๆเช่น กลมกลืนด้วยสี รูปร่าง รูปทรง เส้น ฯ แต่ถ้ากลมกลืนมากอาจรู้สึกน่าเบื่อไม่ตื่นเต้น จึงมักใช้ความขัดแย้งมาช่วยในงานสนุกขึ้น โดยอัตราส่วน 80:20 เช่น กลมกลืน 80%มีส่วนขัดแย้งประมาณ 20%จะทำให้งานสมบูรณ์ขึ้น
จังหวะ(Rhythm) คือระยะในการจัดวางของภาพ,วัตถุ ช่วยความรู้สึกและอารมณ์ในภาพ ช่วยให้เกิดช่องไฟและความสมดุลของภาพได้
smlxl.exteen.com/20050921/entry-1

เส้น (Line)

เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด  หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป
  ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น  เส้นมีมิติเดียว  คือ  ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต
  ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก  สี   ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ  รวมทั้งเป็นแกนหรือ
  โครงสร้างของรูปร่างรูปทรง
        เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง
  ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเอง และด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น  เส้นมี 2
  ลักษณะคือ เส้นตรง   (Straight Line) และ เส้นโค้ง   (Curve Line)  เส้นทั้งสองชนิดนี้
  เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมาย ความรู้สึก
  ที่แตกต่างกันอีกด้วย
    ลักษณะของเส้น
    1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง  ให้ความรู้สึกทางความสูง  สง่า  มั่นคง  แข็งแรง  หนักแน่น
  เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
    2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
    3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
    4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น
   จังหวะ  มีระเบียบ  ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
    5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ
  อ่อนโยน นุ่มนวล
    6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่
  หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่สิ้นสุด
    7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง  การเปลี่ยนทิศทาง
  ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
    8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง  ขาด  หาย  ไม่ชัดเจน  ทำให้เกิดความเครียด
    ความสำคัญของเส้น
    1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
    2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง  ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
    3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
    4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
    5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ
http://www.prc.ac.th/newart/webart/element02.html

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ประติมากรรมตะวันออก

งานประติมากรรมตะวันออก ส่วนใหญ่ก็เกี่ยวข้องกับศาสนา จึงมักจะเป็นเทวรูป พระพุทธรูป  หรือ พระโพธิสัตว์ ซึ่งมีทุกขนาดตั้งแต่ใหญ่โตมหึมาจนถึงเล็กกระจิดริด ลักษณะของประติมากรรมอาจแบ่งออกได้ตามสายศิลปะเช่นเดียวกับจิตรกรรมดังต่อไปนี้

ประติมากรรมทางสายศิลปะอินเดียนั้น ก็เนื่องมาจากลักษณะรูปแบบที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นในยุคสมัยต่าง ๆ ซึ่งก็ได้ถ่ายทอดไปสู่ประเทศอื่น ๆ อยู่ตลอดเวลาตาม “ คลื่นศาสนา ” ที่แพร่สะพัดไปเป็นครั้งคราว จึงเห็นได้ว่าประเทศที่รับเอาลักษณะรูปแบบไปจากอินเดียนั้น ได้คิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ตามรสนิยมของตนเองจนกลายเป้นศิลปะที่ได้รับการยกย่อง เช่น ประติมากรรมของไทย ของกัมพูชา เป็นต้น แม้ในประเทศเดียวกันก็ยังมีการสร้างสรรค์ให้แตกต่างกันออกไปตามยุคตามสมัยด้วย ตัวอย่างเช่น พระพุทธรูปของไทย ก็ยังสามารถแยกออกได้ว่า เป็นยุคสมัยใดบ้าง ประติมากรรมเหล่านี้ได้ชี้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ จนกลายเป็นลักษณะของแต่ละประเทศ แต่ส่วนใหญ่แล้วสร้างรูปแบบขึ้นโดยเน้นความงามให้เหมือนธรรมชาติ เช่น ร่างกายของประติมากรรมที่เกลี้ยงเกลา ไม่แสดงกล้ามเนื้อ เครื่องประดับแพรวพราวตามแบบของ แต่ละประเทศ ประติมากรรมเหล่านี้มีทั้งแกะสลักด้วยไม้ หิน และปั่นหล่อด้วยโลหะที่เรียกว่า “ สัมฤทธิ์ ”

ประติมากรรมในสายศิลปะจีน ก็อาศัยลักษณะรูปแบบประติมากรรมอินเดียมาตั้งแต่ในระยะแรก เฉพาะพระพุทธรูปจะเห็นได้ชัดว่า ดำเนินตามลักษณะพระพุทธรูปของอินเดียติดต่อมาเกือบทุกระยะ เช่น สมัยคันธาระ สมัยมถุรา สมัยอมราวดี สมัยคุปตะ เป็นต้น พระพุทธรูปของจีนเองก็แพร่หลายออกไปอีกหลายประเทศ มีญี่ปุ่น เกาหลี เป็นต้น แต่ละประเทศก็สามารถสร้างสรรค์แสดงลักษณะแบบอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองได้ ทำให้บังเกิดพระพุทธรูปขนาดต่าง ๆ เช่น ในประเทศญี่ปุ่นมีพระพุทธรูป “ ไดบุดสุ ” สูงใหญ่มาก